บล็อกเชน คือ ระบบบัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ ที่มีลำดับของบล็อกหรือหน่วยข้อมูลดิจิทัลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลสาธารณะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำหรับสกุลเงินดิจิทัลทุกชนิด เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำมาใช้เพื่อปฏิวัติวงการการเงินของโลก ที่ช่วยตัดคนกลางออกไปจากระบบ ช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม และประหยัดเวลาในการโอนเงินข้ามประเทศได้เป็นอย่างมาก
Crypto Summer อัพเดทสาระดีๆ ในแวดวงคริปโต Web3 , NFT , Metaverse
เทคโนโลยี บล็อกเชน คือ อะไร
บล็อกเชน ประกอบด้วยชุดของบล็อกหลายๆ อัน ซึ่งแต่ละบล็อกจะมีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด และบล็อกเหล่านี้ยังมีตัวระบุที่ไม่ซ้ำกันเพื่อแยกความแตกต่างจากบล็อกอื่น ๆ ในห่วงโซ่ บล็อกถูกสร้างขึ้นโดยการแก้ปัญหาการเข้ารหัส กระบวนการแก้ปัญหาเหล่านี้เรียกว่าการ Mining หรือ “การขุด” นั่นเอง การขุดบล็อกบนบล็อคเชนนั้นจะถูกดึงดูดด้วยการให้รางวัลเป็นเหรียญนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ในช่วงเริ่มต้นของ Bitcoin blockchain นักขุดที่แก้ปัญหาการเข้ารหัสลับที่จำเป็นในการเพิ่มบล็อกใหม่ให้กับ blockchain จะได้รับรางวัลเป็นจำนวน 50 BTC บล็อกเชนนั้นเป็นบันทึกแบบ Decentralized หรือแบบ กระจายอำนาจ แทนที่จะเป็นแบบเก็บไว้ในที่เดียว ตัวบล็อกเชนจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ทุกรายของบล็อกเชนที่กำหนด
ในขณะเดียวกัน ตัวที่ใช้ระบุบล็อกแต่ละตัว — ที่เรียกกันว่า Hash — ได้มาจากข้อมูลที่มีอยู่ในทุกบล็อกก่อนหน้าในบล็อกเชน ซึ่งหมายความว่า ในการปลอมแปลงบันทึกใดๆ บนบล็อกเชน ผู้ร้ายจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกบล็อกที่อยู่บนห่วงโซ่บล็อกเชน ด้วยเหตุนี้ บล็อกเชนจึงถูกพิจารณาว่าไม่สามารถปลอมแปลงได้อย่างแท้จริง และถูกมองว่าเป็นบันทึกธุรกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนรูปได้ ในปัจจุบัน บล็อกเชนส่วนใหญ่จะเป็นแบบสาธารณะ ซึ่งรวมถึงสกุลเงินดิจิทัล ที่โดดเด่นเช่น Bitcoin และ Ethereum ซึ่งทุกคนสามารถดูบันทึกการทำธุรกรรมที่ดำเนินการบนบล็อกเชนที่กำหนดได้ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า block explorer อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎีแล้วบล็อกเชนนั้นไม่ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานถูกเปิดเผยตัวตนในระดับสูง
แม้ว่าบล็อกเชนสาธารณะจะเป็นบรรทัดฐาน แต่ก็มีการสำรวจว่าการใช้งานแบบเวอร์ชั่นส่วนตัวว่าเป็นวิธีการแก้ไขในกรณีการใช้งานทางธุรกิจและภาครัฐจำนวนมาก
บล็อกเชนมีวิธีการทํางานอย่างไร อธิบายพอสังเขป
- มีคำขอธุรกรรม (transaction) เกิดขึ้น
- ธุรกรรมนั้นได้ถูกนำไปประกาศบนเครือข่าย (P2P) ที่ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์จำนวนมาก (เรียกอีกอย่างว่า Nodes)
- เครือข่ายการใช้งาน Nodes เรียนรู้ตัวอัลกอริธึม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและสถานะของผู้ใช้งาน
- การยืนยันธุรกรรมนั้นสามารถเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Cryptocurrency, สัญญาต่างๆ และการบันทึกข้อมูล
- ตัวธุรกรรมนั้นๆ จะประกอบด้วยธุรกรรมอื่นๆ อีกหลายอัน เมื่อตัวธุรกรรมที่สร้างใหม่ได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้ว มันก็จะสร้างบล็อกใหม่เพื่อแยกข้อมูลขึ้นมาด้วย
- บล็อกใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นบนฐานบล็อกเชนอันที่มีอยู่ (ซึ่งไม่สามารถทำการแก้ไขได้อย่างถาวร)
- ธุรกรรมนั้นๆ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
การนำ เทคโนโลยีบล็อกเชน ไปใช้จริง
- คริปโตเคอร์เร็นซี่
- ธุรกิจธนาคาร
- ธุรกิจเกม
- ธุรกิจประกันภัย
- ธุรกิจทนายความ
- ธุรกิจการท่องเที่ยว
- ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- ธุรกิจพลังงาน
- ธุรกิจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
- ธุรกิจสื่อดิจิทัล
- ธุรกิจงานศิลปะ
- ธุรกิจเพลง
- ธุรกิจกีฬา
- ธุรกิจการขนส่ง
- ธุรกิจการดูแลความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์
- ธุรกิจอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง Internet of Things
- ธุรกิจการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว ใช้โดยภาครัฐ
- การลงคะแนนเสียง
สามารถดูรายละเอียด เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
บล็อกเชน ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี
- ไม่มีตัวกลาง : ช่วยภาระค่าธรรมเนียมได้หลายต่อ
- ข้อมูลคุณภาพสูง : ด้วยรูปแบบของเทคโนโลยีที่มีการตวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องก่อนที่จะถูกบันทึกลงบล็อก จึงทำให้ข้อมูลมีคุณภาพสูงตามไปด้วย
- ความทนทานและความปลอดภัย : โครงสร้างของระบบถูกออกแบบมาให้มีความทนทาน และยังมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลไม่ให้ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโดยง่ายด้วย
- มีความเป็นธรรม : กระบวนการจัดเก็บข้อมูลนั้นมีความแข็งแกร่งมาก และไม่สามารถแก้ไขหรือปลอมแปลงได้
- โปร่งใส ตรวจสอบได้ : บนบล็อกเชนแต่ละบล็อกจะมีค่า Hash ID ระบุตัวตนเอาไว้ หากมีการแก้ไขเกิดขึ้น ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ก็จะได้รับแจ้งในทันทีเช่นกัน
- มีอายุยืนและมีความน่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลบนบล็อกเชนจะถูกบันทึกและเก็บรักษาไว้ตราบนานเท่านาน จึงทำให้มีหลายบริษัทที่อยากจะนำข้อดีตรงนี้มาใช้งานกับบริษัทด้วย
- มีระบบนิเวศที่ใช้งานง่าย : ความไว้ใจคือระบบนิเวศที่เข้าใจง่ายที่สุดในโลกแห่งความจริง ดังนั้นสิ่งที่บล็อกเชนทำคือ การลดขั้นตอนการประมวลผลให้เหลือเพียงไม่กี่ขั้นตอน และอยู่ในรูปแบบออนไลน์จึงทำให้ดูแลรักษาง่าย และยังมีการสร้างแอพที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานขึ้นมาให้ใช้อีกด้วย
- ทำให้ผู้ใช้งานมีอำนาจมากขึ้น : บล็อกเชนให้การรับรองว่าเครือข่ายแบบ peer-to-peer นั้นได้ส่งมอบการควบคุมข้อมูลกลับไปให้ผู้ใช้งานอีกครั้ง
- การทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว : การทำธุรกรรมทางการเงินข้ามประเทศแบบเดิมๆ อาจใช้เวลานานถึง 6 วัน แต่ด้วยบล็อกเชนจะทำให้การทำธุรกรรมใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
- ค่าธรรมเนียมการโอนถูก : มีเทคโนโลยีบล็อกเชนใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความรวดเร็วในการทำธุรกรรมและมีค่าธรรมเนียมถูกมากๆ อย่างเช่น Solana
- มีโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น : ไม่ว่าจะเป็น DeFi , NFT แลอีกมากมาย นอกจากนี้เรายังสามารถเสริมเรื่องการใช้บล็อกเชนกับธุรกิจของเราเพื่อเกาะกระแสได้อีกด้วย
- การตรวจสอบย้อนหลังที่ได้รับการพัฒนา : ในบริษัทที่ต้องมีการจัดการเรื่องห่วงโซ่อุปทานยากๆ หรือธุรกิจใกล้เคียง การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการตรวจสอบย้อนหลังก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ข้อเสีย
- มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน : ทุกครั้งที่ Ledger มีการอัพเดท Nodes ทุกตัวก็ต้องมีการอัพเดทตามไปด้วยทุกครั้งเช่นกัน
- กระบวนการตรวจสอบลายเซนต์ที่ซับซ้อน
- Private Key : ในการทำธุรกรรมจำเป็นต้องมีการใช้ Private Key หรือรหัสส่วนตัว ซึ่งคุณจะต้องเก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับ ห้ามให้คนอื่นรู้เด็ดขาด
- ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญการใช้งานภายในองค์กร : ส่วนใหญ่แล้วการนำบล็อกเชนไปใช้ในธุรกิจของตัวเองจะมีปัญหา เพราะมีความยากในการหาคนที่มีความสามารถมาคุมโปรเจ็กต์
- ความกังวลในการทำงานร่วมกัน : การนำเครือข่ายเดิมมาทำงานร่วมกับบล็อกเชนนั้น ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีกฏระเบียบที่ไม่แน่นอน : ไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีบล็อกเชนจะได้รับการอนุญาติให้ทำอย่างถูกกฏหมาย ซึ่งทำให้เกิดความไม่ไว้ใจในตัวระบบไปเลย
- ใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก : การยืนยันธุรกรรมว่ามีความถูกต้องนั้น จะต้องได้รับการตรวจสอบไปมาหลายครั้ง จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างมาก
- ไม่มีการควบคุมสำหรับองค์กร : องค์กรจำเป็นต้องมีกระบวนการที่เชื่อถือได้เพื่อที่จะใช้เทคโนโลยีบล็อคเชน บล็อกเชนสาธารณะส่วนใหญ่ไม่เอื้อกับรูปแบบนี้ แต่ข่าวดีคือ มีการสร้างบล็อกเชนแบบส่วนตัวขึ้นมาเพื่อเอาไว้ใช้กับองค์กรโดยเฉพาะด้วย
- ความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัว : องค์กรต้องการความเป็นส่วนตัวเพื่อรักษาคุณค่าของแบรนด์ จึงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดกับสาธารณะชนได้
- ทำให้เกิดการปฏิวัติทางด้านวัฒนธรรม และการนำไปใช้จริง :
- ต้นทุนสูง : การพัฒนาตัวระบบบล็อกเชนขึ้นมาเองจากศูนย์อาจต้องใช้เงินจำนวนเยอะมากๆ
บทส่งท้าย
เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้น ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแก้ไขปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินต่างๆ ทั่วโลก และยังสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุกิจขึ้นมาอีกด้วย อย่างเช่น การ DeFi การทำ NFT การทำ Payment , Wallet , การนำไปใช้กับธุรกิจเกม การทำกระดานเทรด การทำธุรกิจรูปแบบของธนาคาร เป็นต้น ซึ่งเราสามารถทำธุรกรรมผ่านทางแพลตฟอร์มเหล่านั้นโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น นับเป็นการปฏิวัติเครือข่ายการเงินที่สำคัญครั้งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว ศึกษา คริปโต เล่นยังไง เพิ่มเติม
ที่มาเนื้อหา