รวม คำศัพท์ NFT น่าสนใจ สำหรับมือใหม่อยากทำโปรเจ็กต์ NFT เชิญมามุงทางนี้

คำศัพท์ NFT

คำศัพท์ NFT นั้น มีหลายคำมาก ที่ยิ่งอ่าน ยิ่งฟัง ก็ยิ่งงง ไม่ว่าจะเป็น Mint , Web3 , Wallet , MetaMask แบบว่า อิหยังอะนี่ สำหรับมือใหม่คงไม่มีใครเข้าใจง่ายๆ แน่ แต่อย่ากลัวไปค่ะ อะไรไม่รู้ต้องศึกษาเนอะ เราเลยเอาคำศัพท์ที่เค้านิยมใช้กัน มาอธิบายให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ไปอ่านต่อกันเลย

สมัครไบแนนซ์ ซื้อเหรียญคริปโตเอาไว้สะสม NFT คลิก

คำศัพท์ NFT น่าสนใจ

ในช่วงแรกที่แอดมินเริ่มศึกษาวงการ NFT บอกเลยว่า งงมากค่ะ หัวจะปวดสุด แต่พอได้ค่อยๆ ทำความเข้าใจก็พบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด สำหรับคนที่มีพื้นฐานเรื่องของคริปโตอยู่แล้วก็สบายหน่อย อ่านเพิ่มอีกนิดก็เข้าใจ แต่สำหรับมือใหม่เอี่ยมก็ต้องพยายามศึกษาให้มากขึ้น เรียนรู้ศัพท์ หลักการ หัดเริ่มใช้งานจริง และทำซ้ำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ค่อยๆ เข้าใจไปเอง

NFT

คือ Non Fungible Token เป็นโทเคนที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ทำให้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้นๆ ได้ โดยแต่ละโทเคนจะแตกต่างกัน ให้ลองนึกถึงของสะสมหรือของมีมูลค่า ที่แต่ละชิ้นก็จะมีลักษณะเฉพาะตัว กล่าวโดยสรุปแล้ว NFT ก็คือ ผลงานศิลปะที่อยู่ในรูปแบบของโทเคน หรือเหรียญคริปโตนั่นเอง

ดูวิธีทำเงินล้านกับ NFT คลิก

Mint

กระบวนการสร้างเหรียญคริปโตรูปแบบหนึ่ง โดยการเปลี่ยนตัวงานในรูปของ JPG , Audio , 3D และอีกมากมาย ให้กลายเป็นเหรียญที่สามารถนำไปทำการแลกเปลี่ยน ซื้อขายได้

MetaMask

กระเป๋าเงินดิจิทัลที่ให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการ รับ-โอน เหรียญอิธีเรียม, และเหรียญที่รันอยู่บนเชนของอิธิเรียม erc20, 721 , โดยทำงานเป็นส่วนเสริมของเบราเซอร์

สมัครไบแนนซ์ เริ่มต้นใช้งานคริปโตคลิก

Airdrop

คือการโอนเหรียญคริปโต หรือผลงาน NFT มาที่แอดเดรสกระเป๋าคริปโตของผู้ใช้งาน แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย อาจใช้ในแง่ของการทำโปรโมชั่นต่างๆ

Crypto Art

ผลงานศิลปะที่อยู่ในรูปแบบของเหรียญคริปโต

Collection

ผลงาน NFT ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นชุดเดียวกัน อาจมีการเชื่อมโยงด้วยตัวคาแรกเตอร์ที่เหมือนกัน มีการเพิ่มพร็อบ หรือมีธีมงานที่ชัดเจน เป็นต้น ซึ่งใน 1 คอลเล็กชั่น สามารถมีจำนวนชิ้นงานเท่าไหร่ก็ได้ เช่น อาจมีจำนวนชิ้นงาน 10 , 100 , 1,000 , 10,000 ชิ้น

ตัวอย่าง NFT Collection Azuki

Discord

Discord คือ แพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับการสื่อสาร สร้าง Community เป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มผู้ซื้อ-ขาย NFT

Genesis

ต้นกำเนิดผลงาน หรือผลงานชุดต้นแบบ ที่ผู้สร้างอาจนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานคอลเล็กชั่นใหม่ๆ ขึ้นมาต่อจากนั้นได้ ส่วนใหญ่ชุดที่เป็น Genesis จะมีราคาแพงกว่า รุ่นหลังๆ ที่เกิดขึ้น

Ethereum

Ethereum คือ สกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าทางการตลาดเป็นอันดับสอง ในตลาดคริปโต ETH หรือ Ethereum ร่วมสร้างขึ้นโดย Vitalik Buterin เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใช้ Smart contract ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นเครือข่ายแรก ที่ทำให้เหล่านักพัฒนาเข้ามาสร้างแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ขึ้นบนเครือข่ายมากมาย

Floor Price

ราคาซื้อ-ขายเริ่มต้น

Gas Fee

ค่าธรรมเนียมในการทำ Transaction หรือการทำธุรกรรมบน Network อิธีเรียม

Gwei

หน่วยย่อยๆ ของ Ethereum ลองนึกถึง “เงินบาท” ที่มีหน่วยย่อยลงไปเรียกว่า “สตางค์” อ่านเพิ่มเติมที่นี่

Metadata

ข้อมูลและรายละเอียดที่อยู่เบื้องหลังผลงาน NFT ที่ถูกระบุและบันทึกอยู่บนบล็อกเชน อย่างเช่น แอดเดรสต้นทาง เว็บไซต์ที่มา ข้อมูลความเป็นเจ้าของ เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

NFT Market

ตลาดในการซื้อ-ขาย แลก-เปลี่ยน NFT เช่น

Opensea

Null Address

คือ ข้อมูลแอดเดรสที่ถูกรีเซ็ตค่าให้เริ่มต้นใหม่ จะไม่มีบันทึกข้อมูลก่อนหน้านั้นอยู่เลย เพื่อให้จุดตั้งต้นเริ่มที่ Opensea นั่นเอง

อ่าน Null Address เพิ่มเติมคลิก

Null Address

การใช้งานคริปโตนั้น ทุกๆ Transaction ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกเอาไว้ว่ามาจากแอดเดรสไหนแล้วไปที่ไหน ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ แต่ Null Address นั้น ไม่มีเจ้าของส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับการ Burn โทเคนนั้นทิ้ง , การ Mint และการสร้างจุดกำเนิดของเหตุการณ์ต่างๆ ก็จะใช้แอดเดรสนี้ 0x0000000000000000000000000000000000000000

Owner

ผู้ที่เป็นเจ้าของชิ้นงาน NFT นั้นๆ

Polygon (MATIC)

เหรียญคริปโตชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการซื้อขาย NFT มีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า และทำธุรกรรมได้เร็วกว่า อิธีเรียม

Pre Sale

รอบการขาย NFT ที่เปิดขายก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ทางผู้สร้างจะตั้งราคาให้ถูกกว่าราคาที่จะขายจริงในตลาด เหมือนเน้นการขายราคาเหมานั่นเอง (สำหรับโปรเจ็กต์ที่ดีส่วนใหญ่จะจำกัดการซื้อ 1 คน ต่อ 2 ผลงานเท่านั้น เพื่อป้องกันการปั่นราคา และทำให้เข้าถึงคนซื้อจำนวนมากขึ้น)

Public Sale

การขาย NFT แบบสาธารณะ ที่ทุกคนสามารถเข้าซื้อพร้อมกันได้ ซึ่งราคาอาจสูงกว่าแบบ Pre Sale

Primary NFT Market

ตลาดแรก : การซื้อ-ขายกันโดยตรงระหว่างผู้สร้างผลงานและผู้ซื้อ ผ่านทางเว็บไซต์ของโปรเจ็กต์นั้นๆ

Secondary NFT Market

ตลาดที่สอง : เป็นตลาดตัวกลางขนาดใหญ่ที่ “ผู้ซื้อ” สามารถทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนงาน NFT กับ “ผู้ซื้อ” ท่านอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถซื้อผลงานจาก “ผู้สร้าง” รายอื่น ไปพร้อมกันได้ด้วย ตัวอย่างเช่น Opensea , ตลาด Foundation เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Secondary NFT Market

Utility

การนำไปใช้งาน , ประโยชน์ในการใช้งานต่าง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของโลกคริปโต เช่น การเอาไปเป็นพร็อบในเกม การนำไปใช้เป็น Land ในเกม Metaverse หรือ NFT บางชิ้นสามารถนำไป Staking ได้ ส่วนในแง่ของการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น คอลเล็คชั่น Veefriends สำหรับคนที่เป็นเจ้าของ NFT  1 ชิ้นจะได้สิทธิ์ในการเข้างานสัมนา Veecon ที่ Gary Vee เป็นคนจัดงานถึง 3 ปี ได้เข้าร่วม Community ที่มีกิจกรรมมากมายรออยู่ เป็นต้น

NFT Utility

Sold Out

การที่ผลงานขายหมดเกลี้ยง

Scammer

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในวงการคริปโตและ NFT ก็คือ เหล่า Scammer หรือนักต้มตุ๋นนี่ล่ะค่ะ ที่สามารถเป็นได้หลายรูปแบบเช่น

  1. การทำลิ้งเว็บปลอม พอคนไม่รู้คลิกเข้าไป ทาง Scammer ก็จะหลอกเอารหัสพาสเวิร์ดของเราไป และขโมยเงินและงานอาร์ททั้งหมดที่มีไปด้วย
  2. สร้างโปรเจ็กต์ NFT ปลอม ที่โปรโมตอย่างยิ่งใหญ่ มี Roadmap และข้อมูลครบ แต่พองานขายหมด ทางทีมก็ไม่ทำการโปรโมทต่อ แต่กลับปิดเว็บหนี พร้อมกับหอบเงินของนักลงทุนไปด้วยก็มีเยอะนะคะ
  3. คนที่ทำทีว่าจะให้ความช่วยเหลือ ถ้ามีคน DM มาแล้วเราไม่รู้จัก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่ามาหลอกชัวร์ ให้เราระวังตัวไว้ให้ดีค่ะ

SushiSwap

แพลตฟอร์มที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเหรียญต่างๆ เช่น MATIC เป็น WETH เพื่อลดค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขาย NFT

Token

โทเคน (Token) คือ เหรียญคริปโตที่สร้างขึ้นมาบนเครือข่ายบล็อกเชนอื่น ๆ ไม่มีเครือข่ายเป็นของตัวเอง ซึ่งมีฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างโทเคน เช่น Tether (USDT), Yearn Finance (YFI),และ Uniswap (UNI) เป็นต้น

Twitter

แพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ ที่นิยมใช้ในการโปรโมท NFT

Volume Traded

ปริมาณการซื้อ-ขาย

Web3

คือ อินเตอร์เน็ทในยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งชาวเน็ตจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลของตนเอง จะมีการบันทึกในทุกกิจกรรมของผู้ใช้งานในรูปแบบของบล็อกเชนโดยที่ข้อมูลดังกล่าวเหล่าบริษัทใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป โดยข้อมูลทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การจัดเก็บและการจัดการแบบรวมศูนย์ผ่าน Server ที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างเช่น MetaMask Wallet, Coinbase

Whitelist

ในโลกของ NFT หากว่าเราได้เข้าไปอยู่ในรายชื่อ Whitelist แปลว่าเรามีสิทธิ์ที่จะได้ซื้อ NFT โปรเจ็กต์นั้นๆ ในราคาพิเศษก่อนคนอื่น ซึ่งการจะได้สิทธิ์นั้นเราต้องไปเข้าร่วมกลุ่ม Community ทำกิจกรรมต่างๆ แล้วก็ติดตามข่าวสารของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ

Wrapped Ethereum (WETH)

คือการนำ Ethereum ไปทำการ Wrapped เพื่อให้สามารถนำไปใช้บน Network อื่นได้โดยที่ราคายังคงอิงกับ Ethereum เหมือนเดิมแบบ 1:1 ตัวอย่างเช่น

กรณีที่ 1 Wrapped Ethereum ที่ใช้บน opensea

มีไว้สำหรับทำการ Bid หรือการประมูลราคางาน NFT เนื่องจากชิ้นงานบางชิ้นมีมูลค่าที่สูงมาก คนประมูลอาจไม่สามารถประมูลงานหลายชิ้นพร้อมกันได้ เพราะมี Ethereum อย่างจำกัด เพื่อแก้ปัญหานี้ ทาง Opensea เลยสร้าง WETH ขึ้นมา เงินกองเดียวแต่สามารถไปตั้งราคา bid กับหลายงานได้ เมื่อไหร่ที่ราคา Bid ได้รับการยอมรับ ผลงานชิ้นอื่นๆ ที่ผู้ประมูลไปตั้งราคาไว้ก็จะหมดอายุ ถ้าหาก WETH ในบัญชีมีไม่เพียงพอ

อ่านเพิ่มเติมคลิก

กรณีที่ 2 Ethereum on Polygon

คือ การนำเหรียญ Polygon (MATIC) ไป Wrapped ใช้บน Network Ethereum และอิงกับราคา Ethereum มีข้อดีตรงที่ ค่าธรรมเนียมถูกกว่า ETH ทำธุรกรรมโดยใช้เวลาน้อยกว่า อ่านเพิ่มเติมคลิก

บทส่งท้าย

เมื่อรู้จักคำศัพท์ที่ใช้ในวงการ NFT แล้ว ก็อย่าลืมไปเรียนรู้เพิ่มเติม และหัดใช้งานเบื้องต้นกันดูก่อนด้วยนะ พอเราได้ลองใช้งานและได้เห็นประโยชน์ของมันก็จะทำให้เราเข้าใจวงการนี้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ทำให้เราสามารถสร้างรายได้กับ NFT ไม่ว่าจะในฐานะผู้ซื้อ หรือผู้ขายก็ตาม หรือจะเป็นในแง่ของนักสะสม ที่ช่วยสนับสนุนศิลปินให้สร้างผลงานสวยๆ ดีๆ ออกมาก็ยิ่งดีใหญ่

วงการ NFT และโลกคริปโต ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสมากมายที่รอเราอยู่ข้างหน้า ขึ้นอยู่กับว่าใครจะได้คว้าโอกาสนั้นไป

สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้กับศิลปิน และนักสะสมทุกๆ ท่าน ให้ได้เจอโอกาสดีๆ และได้พบกับผลงานที่ชื่นชอบนะคะ

สมัครไบแนนซ์ ซื้อเหรียญคริปโตเอาไว้สะสม NFT คลิก

Crypto Summer อัพเดทสาระดีๆ ในแวดวงคริปโต Web3 , NFT , Metaverse

บทความเพิ่มเติม