การใช้ NFT และสิทธิการเป็นเจ้าของที่ผู้ซื้อผลงาน และศิลปินผู้สร้างควรคำนึงถึง

การใช้ NFT และสิทธิการเป็นเจ้าของ

การใช้ NFT และสิทธิการเป็นเจ้าของ หลายคนอาจจะยังมีคำถามสงสัยเกี่ยวกับสิทธิความเป็นเจ้าของ เวลาที่เราซื้อ NFT มาสักชิ้น แล้วความเป็นเจ้าของหรือ Ownership ของเราบน NFT ชิ้นนั้นมีขอบเขตแค่ไหน เราสามารถนำ NFT ที่เราเพิ่งซื้อมาเอาไปทำประโยชน์อะไรได้อีกบ้างนอกจากการซื้อมาขายไป และการโอนย้ายไปมา ซึ่งข้อมูลในแง่ของกฎหมายนี้ ถือว่าจำเป็นมากๆ ที่ทั้งผู้ขายผลงานและผู้ซื้อต้องเรียนรู้เอาไว้ จะได้นำไปปรับใช้กันต่อในอนาคตได้ ไปอ่านกันต่อเลย

Crypto Summer อัพเดทสาระดีๆ ในแวดวงคริปโต Web3 , NFT , Metaverse

การใช้ NFT และสิทธิการเป็นเจ้าของ

สิทธิความเป็นเจ้าของและเนื้อหาต่างๆ บน NFT นั้น บางคนอาจเข้าใจว่าเราเป็นเจ้าของผลงานชิ้นนั้นโดยสมบูรณ์ เพราะเราเสียเงินซื้อผลงานมาแล้ว เราจึงสามารถเอางานนี้ไปต่อยอดทำอะไรเพิ่มได้อีกหลายอย่างแน่นอน แต่อันที่จริงแล้ว ถึงแม้ว่า NFT จะได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ที่เป็นตัวต้นฉบับบันทึกอยู่บนบล็อคเชน สิทธิความเป็นเจ้าของหรือ Ownership นั้น ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ดี ซึ่งทำให้หลายคนอาจสับสนและมีคำถาม เรามีกรณีศึกษามาให้อ่านจะได้เข้าใจกันง่ายๆ

กรณีศึกษา

สมมติว่าคุณเป็นเจ้าของการ์ดเบสบอลรุ่นเก่าหรือการ์ดซื้อขายยอดนิยมจากเกมการ์ดสะสม เช่น Pokemon คุณเป็นเจ้าของตัวผลงานต้นฉบับชิ้นนั้นเท่านั้น แต่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของผลงานต้นฉบับด้วยตัวเอง ตัวลิขสิทธิสำหรับอาร์ตเวิร์ค การออกแบบ และตราสินค้าของการ์ดที่คุณครอบครองอยู่นั้น เป็นของผู้ผลิตการ์ดแต่เพียงผู้เดียว

ในทำนองเดียวกัน แม้ว่า NFT จะเป็นตัวแทนของรายการในบล็อคเชน แต่สิทธิความเป็นเจ้าของ NFT ไม่ได้แปลว่า สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิการใช้งานต่างๆ ของงานต้นฉบับจะถูกถ่ายโอนไปให้คุณด้วย

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณซื้อ NFT ที่มีสำเนาดิจิทัลชุดแรกของ Harry Potter and Sorcerer’s Stone คุณเป็นเจ้าของ NFT ชิ้นนั้น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณมีสิทธิขายสินค้า Harry Potter สร้างภาพยนตร์ Harry Potter หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ Harry Potter เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่การเป็นเจ้าของ NFT และสิทธิในการใช้งานมักจะไม่ตรงกัน จึงทำให้ผู้ซื้อบางรายซื้อ NFT ด้วยความเข้าใจที่ผิดพลาดว่า การซื้อ NFT นั้นให้สิทธิพวกเขาในการนำผลงานไปต่อยอดได้โดยใช้ชื่อทรัพย์สินทางปัญญาชื่อดังเหล่านั้น

Copyright BAYC

แน่นอนว่ามีข้อยกเว้นบางประการสำหรับกฎที่เข้มงวดและรวดเร็วเหล่านี้ Bored Ape Yacht Club โปรเจ็กต์ NFT อันโด่งดัง ได้กล่าวต่อสาธารณะว่าเจ้าของ BAYC NFT ทุกคนมีสิทธิ์ทางการค้าเต็มรูปแบบสำหรับ Ape ตัวนั้น Ape สามารถนำไปทำเงินต่อได้ ถ้าเจ้าของ NFT เล็งเห็นว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะทำ บางโปรเจ็กต์ อย่างเช่น CrypToadz และ Nouns ได้ดำเนินการนี้ให้ดียิ่งขึ้นด้วยการปล่อย IP ของพวกเขาไปยังสาธารณสมบัติภายใต้ Creative Commons (รู้จักกันในชื่อ CC0) แต่เรื่องเหล่านี้ควรมองว่าเป็นข้อยกเว้น ไม่ใช่กฎตายตัว

16 เทรนด์การนำ NFT ไปใช้งานจริง

เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์

การใช้แพลตฟอร์มการ Mint ผลงานด้วยตนเอง เช่นที่ OpenSea เป็นไปได้สำหรับผู้ใช้ทุกคนที่จะสร้าง NFT ใหม่โดยใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ที่พวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของ กรณีแบบนี้เป็นอันตรายกับผู้ mint งาน ผู้ซื้อ และตัวศิลปินที่เป็นเจ้าของงาน ด้วยเหตุผลบางประการ

สิ่งนี้เป็นอันตรายต่อผู้ mint งาน ผู้ซื้อ และศิลปินด้วยเหตุผลบางประการ:

  • การแสวงหาผลประโยชน์จากเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ผู้ขายและผู้ซื้อเต็มใจที่จะยอมรับการดำเนินการทางกฎหมายโดยผู้ถือลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • NFT ที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ออกโดยผู้ถือลิขสิทธิ์อาจถูกลดค่าโดย NFT ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของงานเดียวกัน
  • ผู้ซื้ออาจไม่ทราบว่าเนื้อหาที่ซื้อนั้นผิดกฎหมายหรือทำให้ตนเองตกอยู่ในอันตรายทางกฎหมายกับการค้าที่ผิดกฎหมาย

ความกังวลเกี่ยวกับความชอบธรรมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โปรเจ็กต์และบัญชีที่ตรวจสอบแล้วเท่านั้นของ NFT เป็นที่ให้การยอมรับมากกว่า เพื่อความปลอดภัยในตลาดกลางของ NFT ให้มองหาโปรเจ็กต์ที่ผ่านการตรวจสอบบนแพลตฟอร์มเสมอ และติดตามเฉพาะลิงก์จากบัญชีผู้ใช้ที่เป็นทางการ (และได้รับการยืนยันแล้ว) บนโซเชียลมีเดีย

ในกรณีของการขายที่เกิดขึ้นผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแต่ละโปรเจ็กต์ เช่น Art Blocks หรือ NBA Top Shot ผู้ซื้อสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นใจโดยรู้ว่า NFT ของพวกเขามาจากแหล่งที่ถูกต้อง ดูตัวอย่างผลงานศิลปิน NFT ไทยเพิ่มเติมคลิก

พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

เราได้นำเอาเนื้อหา พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ที่ใช้งานในเมืองไทยมาให้เพื่อนๆ ได้ลองศึกษากันดู จะได้เป็นประโยชน์กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย NFT

1. ลิขสิทธิ์คืออะไร

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้เป็นการรับรองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

2. ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  6. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  7. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

nft แปลก ๆ

3. ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

  1. ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น
  2. ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม
  3. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  4. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
  5. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  6. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 – 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
  7. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

งานสร้างสรรค์ที่ได้ริเริ่มทําขึ้น จะได้รับการคุ้มครองในทันที (automatic protection) โดย มิต้องผ่านพิธีการใดๆ (no formality) รวมถึงการจดทะเบียน หากงานนั้นเข้าข่ายงานอันมี ลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกําหนด เกี่ยวกับการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้น กฎหมายลิขสิทธิ์มีหลักการสําคัญสองประการเกี่ยวกับการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ คือ หลักสัญชาติ และหลักดินแดน ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

  1. ผู้สร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย
  2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
  3. ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน
  4. ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์
  5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
  6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์

การคุ้มครองลิขสิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใดๆต่องาน อันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้

  1. ทําซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึก
  4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
  5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ตาม 1,2,หรือ 3 โดยจะกําหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ที่ไม่เป็นการ จํากัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม

อายุการคุ้มครอง

โดยทั่วๆ ไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะคุ้มครองตลอดอายุของ ผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้ สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่มีงานบางประเภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน ดังนั้น อายุการ คุ้มครองสามารถแยกได้โดยสรุป ดังนี้

  1. งานทั่วๆไป ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุสร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ ถึงแก่ความตาย กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์อายุ 50 ปีนับ แต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
  3. งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใด ของรัฐให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  4. งานศิลปประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

ถาม-ตอบ เรื่องสิทธิการนำ NFT ที่เราซื้อไปใช้

การใช้ NFT และสิทธิ์การเป็นเจ้าของ

1. NFT ผู้ซื้อได้ซื้อไป จะถือว่าเค้าเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ใช่หรือไม่

  • ตอบ ได้สิทธิความเป็นเจ้าของ หรือ Ownership ของ NFT ตัวนั้น แต่ในเรื่องของลิขสิทธิ์ ก็ยังคงเป็นของศิลปินผู้สร้าง NFT อยู่

2. NFT ที่ผู้ซื้อได้ซื้อไป สามารถนำไปทำของใช้ส่วนตัวได้หรือไม่ เช่น สมุด สติ๊กเกอร์ งานปริ๊นท์ต่างๆ

  • ตอบ ตามข้อกฎหมายคือ ทำไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของศิลปินแต่ละท่านว่าอนุญาตหรือไม่

3. NFT ที่ผู้ซื้อได้ซื้อไป สามารถนำไปทำสินค้าขายในเชิงพาณิชย์ เหมือนตัว Vector ที่ซื้อบน Marketplace ได้หรือไม่

  • ตอบ ทำไม่ได้ เราไม่สามารถนำผลงานเหล่านั้นที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ไปทำซ้ำเพื่อขายต่อได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากศิลปิน

4. งาน NFT ที่ซื้อมาสามารถนำไปดัดแปลงเพื่อต่อยอดทำเป็นผลงานของตนเองเพื่อขายได้หรือไม่

  • ตอบ ไม่สามารถทำได้ เพราะผิดพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ในแง่ของการทำซ้ำและดัดแปลง

5. ซื้อ NFT แล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง

  • การได้สิทธิความเป็นเจ้าของงานชิ้นนั้นๆ ในรูปแบบของ NFT
  • การนำ NFT นั้นไปขายต่อบนตลาดซื้อขายเพื่อทำกำไร
  • การได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Community หรือชุมชนที่ทางศิลปินหรือโปรเจ็กต์นั้นได้จัดขึ้น
  • ได้สนับสนุนศิลปินที่คุณชื่นชอบโดยตรง
  • อื่นๆ ตามข้อตกลงของแต่ละโปรเจ็กต์

6. ในกรณีที่ซื้อ NFT แล้วอยากได้ลิขสิทธิ์ในการนำผลงานชิ้นนั้นไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ต้องทำอย่างไร

  • ตอบ ต้องทำข้อตกลงในการนำไปใช้ รวมไปถึงค่าลิขสิทธิ์ กับเจ้าของผลงานหรือศิลปินให้เรียบร้อยเสียก่อน ถึงจะดำเนินการต่อได้

บทส่งท้าย การใช้ NFT และสิทธิการเป็นเจ้าของ

จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าการที่เราซื้อผลงาน NFT และได้สิทธิความเป็นเจ้าของแล้วนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นเจ้าของผลงาน หรือได้ลิขสิทธิ์งานชิ้นนั้นโดยสมบูรณ์ไปด้วย เราเป็นได้แค่เจ้าของ NFT นั้น เท่านั้น ส่วนการนำไปใช้ยังคงต้องมีการทำข้อตกลงกับทางศิลปินหรือผู้สร้างแต่ละคน ว่าสามารถนำไปใช้งานได้แค่ไหน ขอบเขตอยู่ตรงไหน มิเช่นนั้นอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

ตัว NFT ก็เหมือนสินค้าประภทหนึ่ง ที่เราซื้อมา เราเป็นเจ้าของได้แค่ชิ้นนั้น ไม่สามารถเอาไปทำซ้ำ ดัดแปลง ไม่ว่าจะในกรณีใดๆ การใช้งานหลักยังคงเป็นเรื่องของการซื้อขายเปลี่ยนมือเพื่อทำกำไร และสามารถโอนย้ายได้ง่าย ส่วนประโยชน์และการใช้งานที่มากกว่านั้น อาจจะต้องค้นหาคำตอบกันต่อไปในอนาคต เมื่อมีคนนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น หรือจนกว่าจะมีกฎหมายคุ้มครองที่พัฒนามาเพื่อใช้สำหรับ NFT โดยเฉพาะนั่นเอง

อ้างอิง

บทความเพิ่มเติม